วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

เพิ่มเติม การอบรมการการประดิษฐ์จัดบอร์ดด้วยดอกไม้

รวมภาพถ่าย

 
ร่วมแรงร่วมใจกับเพื่อนๆ  ได้มา 1 ชิ้นที่ภูมิใจ


   ถ่ายคู่กับงานฝีมือตังเอง 


ภูมิใจมากช่อนี้ทำเองกับมือ


ของพี่ๆ ปี3


 กุหลาบทำจากทิชชู


 อันนี้ไม่ได้ทำเอง  แต่เอามาฝาก 

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15 วันที่ 21 กันยายน 2555




             อาจารย์ตรวจความเรียบร้อยของ Blogger ของนักศึกษา แล้วชี้แนะว่าเราต้องมีแหล่งเรียนรู้จากที่ไหนบ้าง แล้วสรุปสาระการเรียนรู้จากที่เราได้ทำ Blog ว่าเราได้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาไปแก้ไข Blog ให้เรียบร้อยคะ



กระบวนการทำงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
- ตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นมาก่อน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น การเข้าไปที่สื่อการเรียนรู้โทรทัศน์ครู
- จากนั้นนำมาวิเคราะห์
- แล้วนำมาปฏิบัติ

วิธีการเรียนรู้ จากที่เราได้เรียนและปฏิบัติมาสามารถสรุปได้ดังนี้
- การสร้างสื่อ, การผลิตสื่อ จากนั้นมีการวางแผน เช่น การทำปฏิทินภาษาสำหรับเด็ก
- การนำมาประยุกต์ใช้
- วิธีการร้องเพลง เช่น การนำทำนองเพลงของเพลงอื่นมาใส่เป็นทำนองเพลงที่เราแต่งขึ้นมาเอง
- การเล่านิทาน เช่น นิทานเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีดไป และนิทานเล่าไปพับไป เป็นต้น
- การได้ลงมือปฏิบัติจริง เช่น การไปสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

ทักษะในการดำเนินชีวิต
- ต้องมีประสบการณ์
- ความชำนาญ
- การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่เราทำ Blogspot





สัปดาห์ที่ 14 วันที่14 กันยายน 2555





วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ให้ร้องให้เสร็จ จากนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มเล่านิทานหน้าชั้นเรียน นิทานจะมีเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีกไป นิทานเล่าไปพับไป นิทานเล่าโดยการใช้เชือก โดยทั้งหมดมี 18 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นิทานเรื่องช้างใจดี (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 2 นิทานเรื่องเจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 3 นิทานเรื่องกระต่ายเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 4 นิทานเรื่องโจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 5 นิทานเรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 6 นิทานเรื่องกบน้อยแสนซน (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 7 นิทานเรื่องเจ้างูน้อยกับเถาวัลย์ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 8 นิทานเรื่องต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 9 นิทานเรื่องวันหยุดของน้องเบส (เล่าไปตัดไป)
กลุ่มที่ 10 นิทานเรื่องดาวเคราะห์ของยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 11 นิทานเรื่องตุ๊งแช่จอมซ่า (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 12 นิทานเรื่องน้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 13 นิทานเรื่องแพวิเศษ (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 14 นิทานเรื่องความสุขของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 15 นิทานเรื่องยักษ์สองตน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 16 นิทานเรื่องพระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)
กลุ่มที่ 17 นิทานเรื่องพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 18 นิทานเรื่องครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)

 ยกตัวอย่างนิทานการเล่าไปวาดไป



สัปดาห์ที่ 13 วันที่ 7 กันยายน 2555




วันนี้อาจารย์แจกแผ่นประดิษฐ์อักษรสำเร็จและสีไม้ คนละ 1 กล่อง


อาจารย์สรุป เรื่องของภาษา เริ่มจากการสังเกตของเด็ก การสัมภาษณ์เด็ก และการวิเคราะห์ทางภาษา (ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร)
สื่อที่ใช้ : ส่งเสริมทางภาษา ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย
มุมประสบการณ์ทางภาษา ก็จะมี เช่น รูปภาพ นิทาน บัตรคำ
การส่งเสริมทางภาษามี 4 ด้านคือฟัง พูด อ่าน เขียน
ฟัง = เทปอัดเสียงนิทาน เสียงเพลง
พูด = หุ่นมือ (เด็กพูดกับหุ่นมือ)
อ่าน = หนังสือนิทาน
เขียน = กระดาษใส่กล่อง หรือกระดานขนาดเล็ก
มุมประสบการณ์ทางภาษาต้องการความเงียบสงบ ดังนั้นมุมที่ไม่ควรอยู่ใกล้ คือ มุมบล็อก
บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน 6 กิจกรรม มีดังนี้
-การทักทายคุณครู ก่อนเข้าโรงเรียน
เซ็นชื่อ/ลงชื่อ
-กิจกรรมหน้าเสาธง(สวดมนต์ไหว้พระ)
-เข้าห้องทำกิจกรรม วันจันทร์ = กิจกรรมเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์
วันอังคาร = กิจกรรมของรัก-ของหวง
วันพุธ = กิจกรรมโฆษณา
วันพฤหัสบดี = กิจกรรมประชาสัมพันธ์
วันศุกร์ = เล่าข่าว(สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเช้า)
กิจกรรมการเคลื่อนไหว = ร้องเพลง/ทำท่าประกอบ
กิจกรรมศิลปะ = วาดภาพแทนคำพูด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์(ขั้นนำ/ขั้นสอน/ขั้นสรุป) = ร้องเพลง/นิทาน/ประสบการณ์เดิม/เกม/คำคล้องจอง/การใช้คำถาม/ปริศนาคำทาย
กิจกรรมกลางแจ้ง = กติกา/ข้อตกลงต่างๆ
กิจกรรมเกมการศึกษา = จิ๊กซอ/โดมิโน/จับคู่/เรียงลำดับเหตุการณ์/ล็อตโต/ความสัมพันธ์สองแกน/อนุกรม
กิจกรรมสร้างสรรค์ = เช่น แต่งคำขวัญเกี่ยวกับ เหล้า






สัปดาห์ที่ 12 วันที่ 31 สิงหาคม 2555




อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มออกไปร้องเพลงที่แต่งมาพร้อมทำท่าประกอบเป็นกลุ่ม
กลุ่มของดิฉันร้องเพลงนิ้วของฉันและทำท่าประกอบดังนี้

รูปภาพประกอบเพง









อาจารย์ให้เพื่อนที่อยู่กลุ่มปฏิทินด้วยกัน แต่ งคำขวัญ ชวนเลิกเหล้า………….. มีดังนี้
1) กลุ่มอักษรกลาง สระอา พ่อจ๋าเลิกเหล้าเลิกจน ครอบครัวเป็นสุข
2) กลุ่มอักษรสูง สระอี ดูสิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส ครอบครัวเป็นสุข
3) กลุ่มอักษรต่ำ สะแอะ ดูสิ!!กินเหล้าแล้วเมา กินข้าวดีกว่า
4) กลุ่มอักษรกลาง สระอิอี กอดเหล้ามันแย่ กอดแม่ดีกว่า
5) กลุ่มอักษรต่ำ สระอา หยุดดื่มหยุดเมา ทุกข์เราจะไม่มี
6) กลุ่มอักษรต่ำ สระโอะโอ คุณค่ะ!! กีฬาสร้างชีวิต เหล้าเบียร์สร้างปัญหา
7) กลุ่มอักษรกลาง สระอุอู พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า
8) กลุ่มอักษรกลาง สระแอะเอ ผัวขา!! เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา
9) กลุ่มอักษรสูง สระอะอา เลิกเหล้า เลิกจน
10) กลุ่มอักษร สระ START ลด ละ เลิกเหล้า เพื่อเราเพื่อชาติ
11) กลุ่มอักษร สระ -
12) กลุ่มอักษรกลาง สระโอะโอ คอนเฟริม!! เลิกเหล้าเข้าใจชีวิต มวลมิตรจะสุขใจ
13) กลุ่มอักษรสูง สระอุอู ฟันธง!! เลิกเหล้า แล้วชีวิตจะพ้นจากโรคภัย
14) กลุ่มอักษรสูง สระโอะโอ (2) เลิกเหล้ากันเถอะ
15) กลุ่มอักษรกลาง สระเอะอา คุณแม่!! ขอร้องโตมาด้วยน้ำนมแม่อย่าให้มันแย่เพราะน้ำเมา
16) กลุ่มอักษรต่ำ สระอุอู ดื่มเหล้าตับแข็ง เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน
การบ้านสัปดาห์หน้า…………อาจารย์จะให้เล่านิทานสัปดาห์หน้า เนื่องจากเวลาไม่พอ

สัปดาห์ที่ 11 วันที่ 24 สิงหาคม 2555



กิจกรรมการเรียนการสอน
ให้นักศึกษาฟังเพลงที่อาจารย์เปิดให้ฟังและบอกว่า เพลงนี้บอกอะไรบ้าง วัตถุประสงค์ ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร
ความรู้สึกที่ได้รับจากการฟังเพลง
ฟังแล้วรู้สึกว่าอยากไปเที่ยวเกาะสมุย เพราะในเพลงจะพรรณนาถึงความสวยงามของเกาะสมุย คนนิยมไปเที่ยวเกาะสมุย ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายคล้ายๆตอนนี้กำลังเล่นน้ำทะเลที่เกาะสมุย
อาจรย์สอนเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นพื้นฐาน


เพลงเกาะสมุย




อาจรย์สอนเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นพืนฐาน                                      
นิทานเรื่องนี้จะสอนให้เด็กเห็นคุณค่าภายในตนและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เราสามารถนำนิทานมาสอนเด็กๆและส่งเสริมทักษะทางภาษา การฟัง การพูด การอ่าน ส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว ฝึกการแปลความ ตีความ คาดคะเน และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวหรือความหมายให้ผู้อื่นฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่าน

  เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด


เรื่องย่อ
อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ 

จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิง

คนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมาสัตว์อื่นๆพากันชื่นชม

อัลเฟรดตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


เพลง ช้างน้อยอัลเฟรด 

คำร้อง ครูหญิง

ทำนอง Ten little Indian boys


เจ้าอัลเฟรดน้อยมีงวงยาวที่ไม่เหมือนใคร

เดิน เดิน เดินไป เดิน เดินไป เพียงแค่ตัวเดียว 

พยายามซ่อนงวง เก็บเอาไว้ ไว้ให้มิดเชียว

ฉันไม่อยากงวงยาวกว่าใคร

บนไม้ลื่นสูงมีเสียงใครร้องให้ช่วยอยู่

เดิน เดินไปดู เดินไปดู แล้วจะพบใคร

เด็กผู้หญิงคนหนึ่งติดอยู่บนไม้ลื่นสูงใหญ่

ฉันจะใช้งวงยาวช่วยเธอ

ช่วยเธอลงมาอย่างปลอดภัย

ได้ช่วยฉันก็เป็นสุขใจ


เกมการศึกษา
1 จับภาพเหมืน
2 โดมิโน
3 จิ๊กซอ
4 การศึกษารายละเอียดภาพ (ลอตโต้)
5 ความสัมพันธ์ของแกน (กราฟ)
6 การเรียงลำดับเหตุการณ์
7 อนุกรม
8 เกมอุปมา อุปไมย (ความสัมพันธ์)
งานที่อาจารย์สั่ง
แต่งเพลง
ท่าเต้นประกอบเพลง
เล่านิทาน (เล่าไปฉีกไป)


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่10
วันที่ 17 สิงหาคม 2555

               ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ิติดธุระ ให้มาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ 19 สิงหาคม 2555 แทน

กิจกรรมวันชดเชย

  สินค้าที่นำมาโฆษณษา


ของรักของหวง


การวาดรูปแทนคำพูด



ความรู้เพิ่มเติม
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาล
ทัศนศึกษาสวนจิตรลดา
กิจกรรมทัศนศึกษาสวนจิตรลดาเป็นส่วนหนึ่งของโครงงานเรื่อง วัว ของเด็กๆชั้นอนุบาล 3
โรงเรียนอนุบาลบ้านบาตร ก่อนที่จะได้ไปทัศนศึกษานั้นเด็กๆได้ทำกิจกรรมในโรงเรียนที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในห้องเรียน กลางสนามหญ้า ในห้องครัวของโรงเรียน ....ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวัวที่หลากหลายควบคู่ไปกับความสนุกสุขใจ และนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ กิจกรรมที่ไม่ได้มีการตีกรอบแต่ครูได่เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ทดลอง ลองผิดลองถูกนั้นถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่นำไปสู่การกระตุ้นและส่งเลริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน (นอกเหนือจากเรื่องที่เรียน) ทั้งการเคลื่อนไหว ปลดปล่อยพลังในแต่ละส่วนของร่างกาย การรู้เท่าทันความรู้สึกจิตใจ-อารมณ์ของตนเอง และรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น อีกทั้งพัฒนาการทางสังคม รวมไปถึงลักษณะนิสัยการเรียนรูที่ดี เช่นการค้นคว้า การลองผิดลองถูก เป็นต้น












สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 10 สิงหาคม 2555


อาจารย์สั่งให้ทำปฎิทินตั้งโต๊ะ โดยนำปฎิทินเก่ามาทำเพื่อทำ เป็นสื่อที่เกิดประโยชน์แก่น้องๆ รายละเอียดในการทำงานและการแบ่งกลุ่ม อาจารย์ให้มารับที่โต๊ะในวันพุธที่ 15 สิงหาคม 2555 แล้วสัปดาห์หน้าทุกกลุ่มต้องพร้อมที่จะนำเสนอ





รูปปฏิทินกลุ่ม




.......................................

สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 3 สิงหาคม 2555





                          ไม่มีการเรียนการสอน หมายเหตุ : เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากตรงกับวันเข้าพรรษาวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนคะเป็นวันเข้าพรรษา




  การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

          วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ

          - วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11
          - วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้

            1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
            2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
            3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
            4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
            5.   เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
            6.   เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
            7.   เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
            8.   ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
            9.   หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
          ใน วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

          อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ    หรือ    อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)  หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ



..........................................

สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 27 กรกฎาคม 2555




                  นำเสนองาน การไปเล่านิทานให้เด็กๆฟัง โดยใช้สื่อ powepoint นำเสนอ
โดยมีทั้งหมด 8 กลุ่ม


กลุ่มที่1 เล่านิทาน big book อนุบาล 1

กลุ่มที่2 เล่านิทาน big book อนุบาล 1


กลุ่มที่3 เล่านิทาน big book อนุบาล 2


กลุ่มที่4 เล่านิทานเล่มเล็ก อนุบาล 3


กลุ่มที่ 5 เล่านิทาน big book อนุบาล 3


กลุ่มที่ 6 เล่านิทาน big book อนุบาล 2


กลุ่มที่ 7 เล่านิทานเล่มเล็ก อนุบาล 2


กลุ่มที่ 8 เล่านิทาน big book ประถมศึกษาปีที่ 1

วิเคราะห์พฤติกรรมเด็ก
             เด็กมีความสนใจในการเล่านิทานจะเห็นได้จากการที่ไปเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เด็กๆมีความสนใจ และตั้งใจฟัง จะทำให้เด็กมีสมาธิเด็กที่ได้ฟังจากการอ่านหนังสืออยู่บ่อยๆ จะมีสมาธิทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง และจะมีความสนใจจดจ่อกับสิ่งนั้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากประสาทสัมผัสทางหู ภาษาที่เด็กได้จากการฟังนิทานจะทำให้เด็กๆได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวได้มากขึ้น นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็ว การเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว เด็กจะได้ยินได้ฟังรูปประโยค การใช้ภาษา จะเห็นได้จากการที่เด็กฟังนิทานจบแล้ว เด็กจะสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องเพราะในระหว่างฟังนิทานเด็กก็จะมีกระบวนการคิดจินตนาการและสามารถจดจำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ต่างๆตัวอย่างเช่น รูปสัตว์ ลิง ช้าง และสิ่งต่างๆในตัวละคร เด็กบางคนจะขยับมานั่งใกล้ๆเพื่อที่จะเห็นนิทานได้อย่างชัดเจน เพราะเด็กต้องการสัมผัสหนังสือนิทาน หนังสือนิทานที่มีลูกเล่น สามารถเลื่อนไปมาได้และมองเห็นเป็นภาพต่างๆเด็กๆก็อยากลองทำดู ดังนั้นเราก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสนิทานให้เด็กลองได้เลื่อนภาพที่อยู่ในหนังสือนิทานโดยให้เด็กเข้าแถวเพื่อให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสลองเล่น ลองเลื่อนไปมา เด็กๆจะมีความสุขมากจะส่งผลต่อพัฒนาการได้ดีมากขึ้น เด็กจะกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าตอบคำถาม เพราะการที่เราให้เด็กทำแบบนี้จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าภายในตนเอง

หมายเหตุ เนื่องจากวันนี้อาจารย์จินตนาติดธุระ อาจารย์ให้อาจารย์ท่านอื่นมาสอนแทน
อาจารย์แนะนำว่า การรายงานยังไม่ดีเท่าไหร่ ให้ไปแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับเนื้อหา และการนำเสนอ









สัปดาห์ที่ 6 วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555




               
                อาจารย์ได้สั่งงานโดยให้แบ่งกลุ่ม โดยใช้กลุ่มเดิม และจับฉลากว่าจะได้ใช้สื่อแบบใดในการเล่านิทานให้น้องฟัง โดยสื่อมีดังต่อไปนี้นิทานเล่มเล็ก นิทานBig Book VCD นิทาน สำหรับช่วงชั้นที่จะไปเล่ามี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1และให้แต่ละกลุ่มนำสื่อที่จับได้นั้นไปเล่านิทานให้น้องฟัง พร้อมกับจดบันทึกให้ละเอียดแล้ววิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง เมื่อจบการเล่านิทานก็ให้ตั้งคำถามน้อง เสร็จแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป

          นี่คือภาพบรรยากาศที่่กลุ่มของเราได้ไปเล่านิทานให้กับน้องๆชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ฟังค่ะ
















สัปดาห์ที่5 วันที่ 13 กรกฎาคม 2555



         ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานกลุ่ม ที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้
          กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ 
          กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ
          กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
          กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ
          กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ

โดยกลุ่มของดิฉันได้ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6ขวบ


 
เพิ่มเติม
        พัฒนาการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ปี- พุดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง แต่เสียงพยัญชนะ ม น ห ย ด อ ว บ ก ป ท ต ล ว พ ง ด มีการพูดไม่ชัดเจนบ้างและพูดไม่คล่อง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 900 – 1500 คำ
- ใช้สรรพนานที่เป็นพหูพจน์ สรรพนามแทนเพศ คำนามและคำกริยา ได้
- พูดวลีหรือประโยคที่มีความยาว 3 คำขึ้นไป
- สนทนาได้ประมาณ 5 นาที
- ซักถาม อะไร ใคร ที่ไหน ทำไม
- ใช้คำสันธาน “และ”
อายุ 4 - 5 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ฟ และ ช ได้ชัดจนขึ้น พูดไม่คล่องเป็นบางครั้ง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 1500 – 2000 คำ
- ใช้คำกริยา คำวิเศษณ์ คำลงท้ายและคำอุทานได้
- พูดประโยคที่มีความยาวได้ 4 คำ ขึ้นไปและเป็นประโยคที่เป็นเหตุเป็นผล
- เล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้โดยผู้ใหญ่แนะเล็กน้อย
- ตอบคำถามง่ายๆได้ มักถาม เมื่อไหร่ อย่างไร
- ใช้คำสันธาน “แต่” “เพราะว่า”
อายุ 5 - 6 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ส ได้ชัดเจนขึ้น เสียง ร อาจยังไม่ชัด
- พูดคำศัพท์ไดประมาณ 2500 – 2800 คำ
- ใช้คำสรรพนาม คำกริยา คำบุพบท ได้ถูกต้อง
- พูดประโยคที่มีความยาว5 – 6 คำขึ้นไป เช่นประโยคที่มีความซับซ้อนขึ้น และมักใช้ประโยคคำสั่ง
- พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับผู้อื่นได้อย่างสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด
พัฒนาการด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย
ขั้น ที่ 1 การอ่านขั้นแรกเริ่ม เด็กจะดูหนังสือเรื่องที่ชอบ พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตนทำท่าทางเหมือนอ่านหนังสือ ไม่สนใจข้อความตามลำดับของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การอ่านขั้นแรกเริ่มในระยะก้าวหน้าเด็กจะกวาดตามองข้อความตามบรรทัด ดูข้อความที่มีตัวหนังสือตัวใหญ่
ขั้นที่ 3 การในระยะที่กำลังที่จะก้าวไปสู่การอ่านขั้นต้น เด็กจะรู้จักคำที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ชี้และบอกชื่อของตัวอักษรส่วนใหญ่ได้
ขั้น ที่ 4 การอ่านขั้นต้น เด็กจะชี้หรือกวาดตามองจุดเริ่มต้นและจุดจบของคำบางคำ ใช้เสียงพยัญชนะที่รู้จักในการคาดเดา คัดลอกหรือเขียนสื่อความหมายโดยใช้ภาษาง่ายๆของตนเอง
ขั้นที่ 5 การอ่านขั้นต้นในระยะก้าวหน้าคาดเดาข้อความจากสิ่งชี้แนะโดยดูพยัญชนะตัวแรก ของคำ จำและตรวจสอบตัวอักษรที่สัมพันธ์กับเสียงของคำ

สัปดาห์ที่4 วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555




                    วันนีงดการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จ๋าให้ทุกกลุ่มเอางานที่จะนำเสนอในอาทิตย์นี้กลับไปทำมาใหม่ให้เรียบร้อย โดยจะต้องทำงานของตนให้มีความน่าสนใจ ให้คิดว่าจะทำยังไงเพื่อนๆถึงจะสนใจงานของเราที่ทำมา และต้องทำออกมาไม่ให้งานนั้นดูไม่น่าเบื่อ    และมีวิธีเสนองานที่แปลกใหม่ และในสัปดาห์หน้าจะให้นักษาทุกกลุ่มออกมารายงานใหม่
 
               

                      

สัปดาห์ที่3 วันที่ 29 มิถุนายน 2555



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์สั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้ารายละเอียดในหัวข้อที่ได้รับ มาทำรายเป็นรายงาน และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมารายงานในสัปดาห์ต่อไป







สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2555




               พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
ทำไมเด็กต้องมีการพัฒนาการ เพราะพัฒนาการเป็นตัวบ่งบอกถึงความต้อง ความสามารถ ว่าเด็กต้องการอะไร แล้วเราจะได้ส่งเสริม สนับสนุน ด้านนั้นต่อเด็ก เด็กจะได้มีประสิทธิภาพที่ดี
งานที่อาจารย์สั่ง
งานกลุ่มเรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็ก กลุ่มละ 5 คน
ของดิฉันได้กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 6 ปี รายงานในวันศุกร์ที่ 7 กรกฏาคม

ความรู้เพิ่มเติม
ไอคิว องค์ประกอบด้านสติปัญญา

เมื่อกล่าวถึง IQ มักจะหมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา ที่เป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็น ความฉลาด ที่วัดด้วย แบบทดสอบ แนวคิดเรื่อง IQ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และ ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา ด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการ วิพากวิจารณ์ ถึงข้อจำกัดกันมาก
ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ซึ่ง นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อ Howard Guardner กล่าวว่า คนเราทุกคน มี ความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมี ความฉลาด 8 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้ (Guardner,1983)
เมื่อกล่าวถึง IQ มักจะหมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา ที่เป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็น ความฉลาด ที่วัดด้วย แบบทดสอบ แนวคิดเรื่อง IQ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และ ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา ด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการ วิพากวิจารณ์ ถึงข้อจำกัดกันมาก
ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ซึ่ง นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อ Howard Guardner กล่าวว่า คนเราทุกคน มี ความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมี ความฉลาด 8 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้ (Guardner,1983)


1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือความสามารถด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปี และคิดประดิษฐ์คำ
2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical – Mathematical Intelligence) คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์คิดเป็นระบบ
3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถในการสร้างภาพในสมอง คสามารถในการสร้าง จินตนาการสร้างภาพต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่างเช่นสถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์
4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily – kinesthetic Intelligence) คือความสามารถในการใช้สรีระ ร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถใน ด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง
5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือความสามารถในด้านคนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มี ความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี
6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นความสามารถในการสื่อสารการจัดการและความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
  • 8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ

พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี
ลูกถือได้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะพึงเจอ เขาจะตั้งอกตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันโดยไม่มีขอบเขตใดมาจำกัดความกระหายใคร่รู้ของเขา และเขาก็ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อสิ่งที่คุณพยายามจะให้ เพราะเขาอยากให้คุณรู้สึกพอใจ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้คงทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการที่ได้สอนเขาด้วยเช่นกัน ทารกต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องนับตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก โปรดอย่าลืมว่าทารกมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประเภท และเขาก็อยากเรียนรู้ให้ครบทารกมีความกระตือรือร้นอย่างสูงที่จะได้เจอะเจอ กับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสใหม่ และเขาไม่เคยเด็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพียงแต่คุณต้องดัดแปลงวิธีและเนื้อหาของสิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับวัยของเขา เท่านั้น ไม่ควรให้เด็กทำสิ่งที่ยากเกินอายุ เพราะจะทำให้เขาเครียดสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และอาจรู้สึกไม่ดีกับคุณในที่สุด ควรช่วยเขาเปิดโลกทัศน์ แต่ไม่บังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณต้องการ คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเฉพาะของลูก และเปิดโอกาสให้เขาแสวงหาอย่างเต็มที่
อย่าปล่อยให้ช่วง 6 สัปดาห์แรกในชีวิตของลูกคุณผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หลายๆ คนมีความคิดผิดๆ ว่าการที่ทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน อันที่จริงการขาดสิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส) จะทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิต เช่นเดียวกับการเติบโตทางกายด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น
บุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของทารก คือคนที่ดูแลเขามากที่สุด ซึ่งผู้ที่ทำกิจกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคุณแม่ ดังนั้นคุณจึงถือเป็นครูคนสำคัญที่สุดในชีวิตลูก เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เราจะเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากที่สุด หากสิ่งนั้นถูกถ่ายทอดจากผู้ที่เราชื่นชอบและสื่อสารกันได้ดี ยิ่งถ้าเรามีความรู้สึกใกล้ชิดและเข้าใจกันและกันกับผู้ที่สอนเราด้วยแล้วก็ ยิ่งซาบซึ้งกับสิ่งที่เรียนและจดจำไปได้นานแสนนาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกก็ไม่ต่างไปจากนี้ทารกจะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและ เร็วขึ้นหากเขาเกิดความรู้สึกผูกพันกับครูคนแรกตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต นอกจากคุณแล้ว ผู้ที่จะสนิทสนมกับลูกมากเป็นลำดับต่อไปก็คือสามีของคุณ กล่าวได้ว่าผู้เป็นพ่อและแม่ควรสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นกับทารกให้เร็ว ที่สุดเท่าที่จะทำได้และช่วยสอนให้เขารู้จักสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้
สิ่งที่คุณสอนให้กับลูกไม่จำเป็นต้องมีแบบแผน มีกฎเกณฑ์หรือมีเป้าหมายใดๆ ตายตัว ว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ แต่คุณควรสอนให้ลูกรู้สึกสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เขาได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อธิบายทุกอย่างที่เห็น และให้เขาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคุณ คุณควรคอยกระตุ้นและสนับสนุนเขาตลอดเวลา ชมเชยลูกแม้ว่าสิ่งที่เขาทำสำเร็จจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยคอยเป็นกำลังใจ เมื่อลูกล้มเหลวผิดพลาดหากไม่มีคุณคอยอยู่เคียงข้างเด็กจะขาดความมั่นใจไป
การเรียนรู้ 0-1 ขวบ
ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์
ถ้าหากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ :
ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :
ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน :
ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน :
ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน :
ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน :
ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน :
ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน :
ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน :
ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :
ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน :
เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
การมองลูก
คุณควรเอาหน้าเข้าไปจ่อใกล้ๆ ลูกให้เขาได้เห็นคุณตั้งแต่ช่วง 2-3 วันแรก การที่แม่และลูกได้ส่งสายตามองกันและกันเป็นสิ่งสำคัญมาก หนึ่งในสิ่งที่ทารกมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยตั้งแต่วันแรกในชีวิต คือ ใบหน้าของมนุษย์ ทารกเกิดใหม่จะเห็นสิ่งที่เข้ามาใกล้ในระยะ 20-25 เซนติเมตรเท่านั้น คุณจึงควรขยับตัวเข้าไปใกล้ๆ เขา และทำอะไรบางอย่าง เพื่อดึงความสนใจของทารกมาที่ใบหน้าคุณ เช่น ขยับศีรษะพูด เลิกคิ้ว และที่สำคัญคือยิ้มตลอดเวลาและสบตาลูก จากการศึกษาพบว่าแม่ที่จ้องมองใบหน้าของลูก สบตาลูก ขณะที่ป้อนนมหรือเล่นกับเขา มีแนวโน้มที่จะไม่ใช้วิธีตีลูกเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น และลูกที่มีแม่เช่นนั้นมักจะรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีเมื่อ เขาโตขึ้นในอนาคต นั่นคือ สร้างฐานอีคิวที่ดีนั่นเอง
การพูดคุยกับลูก
ทารกจะสื่อสารกับคุณครั้งแรกด้วยการใช้รอยยิ้มวิธีที่คุณใช้พูดคุยกับลูกอาจ เป็นดังนี้คุณยื่นหน้าเข้าไปใกล้ๆ ลูกระยะประมาณ 20-25 เซนติเมตร จากใบหน้าของเขาแล้วพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ให้ลูกฟังด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทารกจะเห็นว่าคุณมีท่าทีเป็นมิตร ทารกทุกคนมีสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่จะตอบกลับด้วยความเป็นมิตรเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงยิ้มตอบ คุณรู้สึกดีใจที่เขายิ้มให้จึงยิ่งยิ้มให้เขามากกว่าเดิมอีก คุณอาจหัวเราะโอบกอดและหอมแก้มเขา ทารกชอบสิ่งเหล่านี้ เขาจึงยิ้มอีกเพื่อทำให้คุณพอใจ แล้วคุณก็ยิ่งพยายามทำให้เขามีความสุขมากกว่าเดิมอีก วนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างนี้
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และทารกก็คือ ทารกได้เรียนรู้ข้อเท็จจริง 2 ประการ ประการแรกเมื่อเขาส่งยิ้มไป ก็จะได้รับยิ้มตอบ และบางทีอาจได้คืนมากกว่านั้นอีก เช่น ได้คำชม มีคนกอดเขาตอบ ประการที่สอง คือ ทารกได้เรียนรู้วิธีทำให้คุณพอใจและวิธีสร้างความสัมพันธ์กับคุณ เขาได้รู้ว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการนี้ได้อย่างไร และจะนำวิธีนี้ไปใช้กับคนอื่นๆ ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าทารกที่ยิ้มเก่งคือทารกที่ฉลาดเพราะพฤติกรรมนี้แสดงให้ เห็นว่าทารกได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง คือ ถ้าเขายิ้มใครต่อใครก็จะชอบเขา และชีวิตจะมีความสุขยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรช่วยให้ลูกได้มีจุดเริ่มต้นที่ดีในการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกที่อยู่ รอบๆ ตัวเขา
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เด็กๆ ชอบหนังสือ และชอบดูหนังสือตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพ่อหรือแม่พลิกหนังสือไปทีละหน้าพร้อมๆ กับเขาและอ่านข้อความในหนังสือให้ฟังดังๆ การที่ได้อ่านหนังสือด้วยกัน เป็นโอกาสที่คุณจะได้สอนลูกเกี่ยวกับเรื่องสี ตัวหนังสือและสำหรับเขาน้ำเสียงของคุณก็ช่างอ่อนโยนน่าฟังเหลือเกินในที่สุด คุณอาจจะพบว่าการอ่านหนังสือก่อนนอนพร้อมกับลูกเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก และช่วยผ่อนคลายจิตใจหลังจากที่ผ่านอะไรๆ มาทั้งวัน ที่ดีไปกว่านั้น คือ ในภายหลังลูกอาจจะอยากดูหรืออ่านหนังสือเองโดยลำพัง ซึ่งนอกเหนือจากจะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เขาในช่วงนี้แล้ว ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่เขาจะหาความสุขได้ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตอีก ด้วย การที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์นั้นนับเป็นสิ่งที่ประมาณค่าไม่ได้ ยังเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะไม่ทำให้ลูกไปติดทีวีเมื่อโตขึ้น
ขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการซื้อหนังสือปกแข็งที่ทนทาน และข้างในมีรูปภาพสีสันสดใสให้ลูกก่อน ถ้าอยากให้มีอะไรแปลกๆ ให้ลูกบ้าง ก็ควรซื้อหนังสือที่เมื่อกางออกมาแล้ว มีภาพต่างๆ ตั้งขึ้นมาในลักษณะ 3 มิติแต่คุณต้องทำใจไว้ก่อนล่วงหน้า ว่าลูกจะยังไม่รู้จักการถนอมหนังสือพวกนี้เพราะเขายังเด็ก
ช่วงเรียนรู้ได้รวดเร็ว
อัตราการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคงที่ บางช่วงพวกเขาจะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ในช่วงดังกล่าวเด็กจะมีความคิด ทักษะใหม่ๆ อยากรู้อยากลองทำไปเสียทุกอย่าง อย่างไรก็ดี อาจเกิดกรณีเรียนรู้ของใหม่และลืมของเก่าไปบ้างขออย่าได้วิตกกังวล เพราะการหลงลืมนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เด็กจะต้องใช้สมาธิมากในการเรียนรู้ทักษะใหม่เมื่อเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ แล้วความรู้ความสามารถเดิมๆ ที่จะหายไปจะกลับมา ช่วงที่เด็กมีพัฒนาการรวดเร็ว ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะชักนำให้เขาพบกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ในช่วงที่สติปัญญาของเขามีความพร้อมอย่างเต็มที่และในเวลาเดียวกัน หากเด็กมีกิจกรรมที่เขาโปรดปราน ก็ควรให้โอกาสเขาทำสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ ด้วย พ่อแม่ไม่ควรไปจำกัดโลกทัศน์และประสบการณ์ของเด็ก โดยการเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆ ให้เขามากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เห็นอะไรกว้างๆ และให้เขาเป็นผู้เลือกเองว่าชอบอะไร แล้วเรียนรู้ในสิ่งที่เขาพอใจ หลังจากช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วผ่านไป การ เรียนรู้ของเขาจะเริ่มช้าลงขอให้ใช้ช่วงเวลานี้เป็นเสมือนการหยุดพักทบทวน สิ่งที่เรียนรู้มาและเตรียมให้เด็กก้าวเข้าสู่ช่วงการมีพัฒนาการอย่างรวด เร็วในครั้งต่อไปสิ่งที่คุณควรทำคือฝ่ายช่วยเขาทบทวนทักษะต่างๆ โดยอาจชวนให้ลูก “ร้องเพลงที่เคยร้องกันอีกครั้ง” หรือ “ลองมาเล่นจับตัวหมุดลอดลงรูกันอีกครั้ง”
ปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำ
ครูที่ดีคือครูที่คอยแนะแนวทางให้เราพัฒนาตัวเองและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้ มากที่สุดโดยเน้นจุดดีและลบจุดด้อยที่มีอยู่ เมื่อคุณเป็นครูของลูกคุณก็ต้องพยายามดึงจุดเด่นของเขาออกมาใช้ให้มากที่สุด และช่วยพัฒนาจุดด้อยของเขาให้ดีขึ้น คุณมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือลูกเมื่อเขาต้องการ โปรดจำไว้ว่าการให้ความช่วยเหลือจะไม่มีคุณค่าใดๆ เลยหากผู้ที่ถูกช่วยเหลือไม่ต้องการหรือไม่ชอบที่คุณทำเช่นนั้นคุณจึงต้อง ช่วยลูกให้ถูกวิธี และไม่ล้ำเส้นจนกลายเป็นการบงการเขา เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาสนใจ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้เขาสนใจ ดังนั้นคุณจึงควรปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำว่าเขาต้องการจะไปในทิศทางไหน เปรียบเทียบง่ายๆก็คือคุณหยิบเมนูอาหารส่งให้ลูก แต่ปล่อยให้เขาเลือกอาหารที่ต้องการรับประทานด้วยตนเอง
การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้และการพูด
การพูดเป็นทักษะด้านสติปัญญาที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะได้เรียนรู้ หากเด็กไม่สามารถสื่อสารได้ การเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไปก็จะเป็นไปโดยลำบาก หรือมิฉะนั้นอาจถึงกับเป็นไปไม่ได้ การหัดพูดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอด และเด็กก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเขาจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อความ อยู่รอดของตนเอง
การสื่อสารในช่วงแรกของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นเป็นคำพูดหากแต่เป็นเสียงร้องไห้ การสื่อสารที่มีต่อกันระหว่างแม่ลูกมักเริ่มจากการยิ้ม และในเวลาต่อมาอาจใช้การโครงศีรษะเข้าช่วย คุณอาจสังเกตว่าลูกพยักหน้าให้เมื่อเขาต้องการบอกขอบคุณ เมื่อเด็กโตขึ้นเล็กน้อย เขาอาจไปยืนอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่ต้องการและตะโกนเรียกความสนใจจากคุณ จากนั้นเขาจะหันไปชี้ของที่อยากได้ บทเรียนขั้นต้นเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าชีวิตเขาจะง่ายขึ้นกว่านี้มาก หากสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ และใช้คำพูดแทนการทำกิริยาท่าทาง
เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนรอบตัวไปพร้อมๆ กันด้วย บ่อยครั้งที่เด็กพยายามเดาความหมายของคำจากประโยคที่เขาได้ยินโดยรวมและน้ำ เสียงที่ผู้พูดใช้ เวลาเด็กใช้คำเรียกอะไร มักเป็นคำที่เขาต้องการใช้แทนความหมายของคนหรือสิ่งของที่กว้างๆ กว่าที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นมาใช้กัน เช่น เด็กอาจะเรียกผู้ชายทุกคนที่เขาพบว่า “พ่อ” เพราะเด็กรู้จักคำว่าพ่อจากการอยู่กับผู้ชายที่เขารักที่บ้าน
แต่ เด็กยังไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ชายคนนี้ เด็กอาจเรียกผลไม้ทุกชนิดที่เจอว่า ม้าม่วง (มะม่วง) เพราะนั่นคือผลไม้ชนิดแรกที่เขารู้จัก อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กจะสามารถแยกรถยนต์ออกจากรถบรรทุกได้ หรือแยกสุนัขออกจากแมวได้ แม้ว่าตัวจะพอกัน รูปร่างคล้ายกันและมีหางเหมือนกันหากคุณสอนให้เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ
การพูดคุยกับลูก
โปรดพูดคุยกับลูกให้มาก เมื่อเด็กต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งคุณควรบอกเขาว่าคุณเข้าใจที่เขาพูดและหา สิ่งนั้นมาให้พร้อมกับเรียกชื่อสิ่งของนั้นให้เขาฟังชัดๆ อย่าพูดกับลูกโดยไม่มองหน้า เพราะเขาต้องการความสนใจจากคุณ ขอให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจฟังเขา ในช่วงแรกเด็กจะยังไม่เข้าใจความหมายบางคำทุกคำ แต่เขาจะพยายามเดาเอาจากประโยคทั้งหมดดังนั้นคุณจะต้องพยายามช่วยให้เขาเดา เรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สองคนแม่ลูกควรช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยเดินไปที่ประตูห้อง นั่งเล่น แล้วพูดว่า “ได้เวลานอนแล้วลูก” จากนั้นก็จับมือเขา พาเดินไปหัวนอน แม้เด็กจะไม่รู้จักคำพูดที่คุณใช้สักคำ เขาก็จะเข้าใจความหมายได้ว่าคุณจะให้เขาทำอะไร คุณจะเป็นผู้ช่วยเหลือลูกได้มากในช่วงที่เขาหัดพูด เด็กชอบฟังเสียงสูงๆ ต่ำๆ ของคำพูดและเขาก็ชอบให้คุณให้คุณสนใจเขาด้วยเช่นกัน พยายามนำเสนอทั้ง 2 สิ่งนี้แก่ลูกบ่อยๆ
ทุก ครั้งที่คุยกับเขาอย่าลืมสบตาเขาคุณอาจแสดงสีหน้าและท่าทางที่มากเกินปกติ สักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจสักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจความหมายของแต่ ละคำที่กล่าวออกมานอกจากนี้ยังอาจใช้น้ำเสียงและการกระทำประกอบคำพูดด้วย เช่น เมื่อกล่าวว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก” ก็ให้เดินเข้าไปในห้องน้ำแล้วเปิดก๊อกน้ำเลยหรือเมื่อบอกว่า “มาหวีผมกันเถอะ” ก็ให้หยิบหวีขึ้นมาหวีผมให้ลูกทันทีเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้รูปธรรมของสิ่ง รอบตัวไปกับทักษะทางภาษา
การเรียนรู้และการเล่นสนุก
สำหรับเด็กแล้ว การเล่นสนุกก็เปรียบเหมือนการได้เรียนรู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับเขา ขณะที่เด็กกำลังจะเล่นอยู่เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ และมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น การเล่นสนุกช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายทาง ดังนี้
ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการใช้มือให้ดีขึ้น ไม่ว่าเขาจะเล่นเกมเอากล่องมาซ้อนกันเป็นตึกสูง หรือการเล่นต่อจิ๊กซอว์ ตักทราย เก็บใบไม้ คุ้ยเขี่ยดิน เมื่อโตขึ้นอีกนิด กิจกรรมเหล่านี้สอนให้เด็กควบคุมมือตนเองสำหรับทำอะไรๆ ที่เขาต้องการและเมื่อโตขึ้นเขาก็จะใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาศัยความละเอียดอ่อนหรือทักษะมากกว่าเดิม นั่นคือ การเล่นเป็นพื้นฐานของการฝึกทำงาน
การเล่นกับเด็กคนอื่นๆ สอนให้เด็กเข้าใจความสำคัญของการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เพื่อนมาที่บ้านช่วยให้เด็กลดความขี้อายและรู้จักการแบ่งปัน สอนให้เขาแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ รวมทั้งสอนให้เขารู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม นอกจากนี้ หากเด็กมีเพื่อนสนิทเขาก็จะได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และรู้จักนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดคุยขณะที่เขาเล่น โดยเฉพาะถ้าเขาจะพูดกับเด็กคนอื่นขณะที่กำลังง่วนอยู่การเล่นที่ต้องใช้ สมาธิ หรือความคิดสร้างสรรค์ การพูดคุย จะยิ่งทำได้ยากกว่าเดิม เพราะเด็กจะต้องรวบรวมความคิดที่มีเกี่ยวกับเกมและถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่ จะทำให้เพื่อนเข้าใจได้
การเล่นสนุกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญาทางด้าน ร่างกายนั้นเด็กจะได้ฝึกฝนให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานร่วมกันในขณะที่เขาวิ่ง กระโดด ปีน และโหนตัว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและได้พัฒนาประสาทการมองและการฟัง เสียง รวมทั้งเข้าใจมิติต่างๆ อีกด้วย
การเล่นที่เหมาะสำหรับเด็ก
สำหรับเด็ก แล้วการเล่นและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไปได้ ดังนั้นคุณจึงควรให้เขาเล่นเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะกับอายุในแต่ละช่วง ลูกทั้ง 4 คนของดิฉันในช่วงที่เป็นเด็กเล็กจะชอบเล่นกับน้ำมาก ไม่ว่าการเล่นน้ำในสระเล็กๆ หรือการเล่นรองน้ำที่ไหลจากก๊อกใส่ภาชนะต่างๆ ในบ้าน น้ำเป็นสิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ให้แก่เด็กได้เป็น อย่างดีเพราะน้ำมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น น้ำทำให้ของต่างๆ เปียก น้ำไหลได้ นำมาใส่ภาชนะต่างๆ ก็เปลี่ยนรูปไปตามภาชนะนั้นได้ เข้าออกได้ มีฟองลอยบนผิวน้ำได้ สิ่งของบางอย่างเมื่อใส่ลงในน้ำอาจจมได้ น้ำอาจเปลี่ยนสีได้เมื่อใส่ผักบางชนิดลงไป ถ้าก๊อกรั่วจะมีหยดน้ำหยดลงมา และอุ้งมือของเรามักจะเก็บไว้ไม่อยู่ เป็นต้น
การเล่นดินน้ำมันเป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กเช่นกัน เด็กจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะดินน้ำมันเอามาปั้นเป็นรูปต่างๆ ได้ และคงอยู่ในรูปเช่นนั้นไว้ หรือถ้าอยากปั้นอย่างอื่นก็สามารถเอามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ และทำให้เป็นรูปเป็นร่างอื่นต่อไป ทรายเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่น่าเรียนรู้ เพราะเป็นของที่อยู่ตรงกลางระหว่างของแข็งและของเหลว เมื่อจับทรายจะรู้สึกว่าเป็นเม็ดมันแข็ง แต่ก็สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่ใส่ เมื่อทรายนั้นเปียกเราอาจจะตักทรายอัดใส่ให้แน่นเมื่อคว่ำออกมา ทรายก็สามารถคงรูปร่างเหมือนกระป๋องนั้นไว้ได้ และทรายกองนั้นก็อาจทลายลงมาได้เมื่อมันแห้งลง
สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ในช่วงขวบปีที่ 2 คือ การแยกประเภทของสิ่งต่างๆ โดยเริ่มมองเห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของ คุณอาจสร้างเสริมการเรียนรู้ในลักษณะนี้แก่เด็กได้โดยใช้ของเล่นเป็นสื่อ เช่นอาจมีชุดตุ๊กตาเล็กๆ ของฟาร์มปศุสัตว์ให้ลูกเล่น ในชุดของเล่นอาจประกอบด้วย ม้า วัว และไก่ ทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสัตว์เหมือนกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพวก คุณควรช่วยอธิบายความเหมือนและความต่างให้ลูกฟังและเรียกชื่อสัตว์สิ่งของ ต่างๆ ให้เขาฟังซ้ำๆ เวลาแยกประเภทให้ดู และอาจนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเรื่องผลไม้ รถ และสิ่งของอย่างอื่นได้อีกและอย่าลืมถ้ามีโอกาสต้องพาไปดูของจริงด้วย
เด็กจะชอบเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายในบ้านเขาจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมาย หากคุณยอมให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย คุณอาจให้เขาช่วยตักแป้งอบขนมให้ ให้เขายกจานที่รับประทานแล้วนำมาไว้ที่อ่างล้างจาน รวมทั้งหาแปรงปัดกวาด และที่โกยผงอันเล็กๆ ให้เขาช่วยคุณทำความสะอาดบ้าน
คุณอาจจะเอาเสื้อผ้า เครื่องแบบ หมวก และรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วมาเก็บไว้ในกล่องใหญ่ๆ สักใบหนึ่งเอาไว้ให้ลูกใส่เล่น เด็กส่วนใหญ่จะสนุกกับการเล่นแต่งตัวเลียนแบบผู้อื่น และสิ่งที่นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาเพราะเด็กจะเริ่มรับรู้ว่าในโลกนี้ยัง มีคนอื่นๆ อยู่ด้วยอีกมากและเขาจะต้องพบเจอกับคนเหล่านั้น แนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่เข้าใจได้สำหรับเด็ก หากคุณเริ่มจากการให้เขาเล่นแต่งตัวเลียนแบบคนอื่น เด็กๆ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงต่างก็ชอบตุ๊กตา ตุ๊กตาเป็นเสมือนเพื่อนในจินตนาการของพวกเขา และช่วยให้เขาสร้างโลกส่วนตัว
ในขณะที่เด็กเล่นกับตุ๊กตาเขากำลังเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ไปด้วย โดยปฏิบัติกับตุ๊กตาราวกับมันเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะพูดคุยด้วย แต่งตัวให้ พาไปนอน และหอมแก้มก่อนบอกราตรีสวัสดิ์ อันที่จริงการกระทำเหล่านี้เป็นการเลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับชีวิตของเด็ก เขาพยายามจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ และเชื่อมโยงการกระทำดังกล่าวกับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
ก่อนที่เด็กจะเขียนหนังสือได้หรือวาดรูปได้ เขาจะเริ่มจากการจับไม้มาขีดเขียนบนพื้นดิน หรือหยิบดินสอสีต่างๆ ขึ้นมาขีดๆ เขียนๆ เล่นเสียก่อน ควรหาชอร์คสี กระดานดำ และขาตั้งขนาดสูงเท่ากับตัวเด็กมาไว้ใช้ที่บ้าน เพราะเขาจะได้วาดๆ ลบๆ ได้ตามใจชอบ นอกจากนี้คุณอาจหากระดาษแผ่นใหญ่มาวางไว้ติดที่ขาตั้ง และซื้อสีเทียนหรือสีชอร์คมาให้เด็กวาดภาพระบายสี ถ้าคุณไม่อยากซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ คุณก็สามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ การระบายสีลงบนตัวของเด็กเองก็เป็นเรื่องน่าสนุกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเพื่อนๆ มาร่วมเล่นด้วย
เด็กส่วนใหญ่ชอบเสียงเพลงและชอบให้คุณร้องเพลงให้เขาฟังตั้งแต่ช่วงแรกเกิด เด็กหลายๆ คนฮัมเพลงโปรดของตัวเองได้เป็นเวลานานก่อนที่จะพูดได้ด้วยซ้ำ เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นคุณอาจซื้อเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นเด็กให้ เช่น เปียโน นิ้งหน่อง หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อให้เขาได้เล่นดนตรีตามแบบพวกเขาเอง คุณอาจช่วยกระตุ้นให้เขาเล่นด้วยการร่วมร้องรำทำเพลงไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนานยิ่งขึ้น วิธีที่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ คุณควรร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับเขาด้วย และอาจช่วยให้คำแนะนำและแสดงให้เขาดูว่าจะทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง และจะต้องทำอย่างมีศิลปะไม่ให้ลูกรู้สึกว่าคุณเข้ามายุ่งก้าวก่ายกับเขามาก เกินไป เกมที่ลูกเล่นมักจะต้องมีคนเล่นด้วย คุณจึงควรช่วยเล่นกับเขา เมื่อคุณว่าง และร่วมเล่นไปจนกว่าเขาจะไม่ต้องการคุณเวลาเล่นควรปล่อยให้ลูกนำ เขาอาจจะอยากให้คุณช่วยตักทรายใส่กระป๋องให้คุณไม่ควรจะช่วยเขาจับกระป๋อง ทรายคว่ำทำเป็นบ้านเด็ดขาด เพราะนั่นคือส่วนที่สนุกที่สุดที่เขาอยากทำเอง
ลูกของคุณอาจเริ่มมีช่วงสมาธิยาวขึ้น แต่เขาอาจจะยังมีปัญหาเรื่องสมาธิอยู่บ้างถ้าต้องทำสิ่งที่ยากเกินไป ในกรณีนี้ควรช่วยลูกโดยแสดงให้ดูว่าควรทำอย่างไร และตั้งเป้าหมายให้เขารวมทั้งคอยให้กำลังใจลูกด้วยลูกอาจทำอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้ หากขาดกำลังใจจากคุณ แต่เมื่อเขาทำสำเร็จเขาก็จะรู้สึกว่าเป็นความภูมิใจอย่างสูง
การให้ลูกเล่นคนเดียว
พ่อแม่หลายรายคิดผิดว่าควรให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลาที่เขาตื่น ก็คือ เขาควรจะสามารถนั่งเล่นอะไรได้เงียบๆ คนเดียว บ่อยครั้งที่เด็กอยากนั่งเล่นคนเดียว ตัดสินใจเองว่าจะเล่นอะไรไปนานสักเท่าไร ควรปล่อยให้เขานั่งเล่นเองไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ต้องทำสิ่งที่ยากจนทำไม่ได้ และหันมาขอความช่วยเหลือจากคุณ หากเขาไม่ได้ร้องขอไม่ควรเข้าไปยุ่งเพราะจะทำให้เด็กหมดสนุกจนเลิกเล่นไปเลย และไม่ได้เห็นว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น เมื่อสร้างเป็นรูปเป็นร่างแล้วจะออกมามีหน้าตาอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องความภาคภูมิใจกับความสำเร็จของตัว เองอย่างที่เขาควรจะมี
ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ง คือ คนทั้งหลายมักคิดว่าเด็กจะต้องเล่นของเล่นเสมอ ในความเป็นจริงแล้วเด็กสามาให้ทำกิจกรรมได้มากมายหลายอย่างโดยไม่ต้องใช้ของ เล่นเลย เช่น การไปออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปีนเนินเตี้ยๆ วิ่งเล่นตีแบด เล่นบอล สร้างแคมป์จากกิ่งไม้และใบไม้ ตักน้ำใส่ลงในหลุมทราย เก็บก้อนกินหรือเปลือกหอยเล่น เป็นต้น และคุณควรปล่อยให้ลูกเล่นไปตามประสาของเขาให้เขามีความเป็นตัวของตัวเอง หากไม่หัดให้เขาอยู่ได้โดยลำพังบ้าง ลูกจะรู้สึกแย่มากในเวลาที่คุณไม่อยู่ และอาจนำไปสู่พัฒนาการถดถอย หรือการทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง เป็นต้น
ดังนั้นคุณควรพอใจ เมื่อลูกมีความเป็นตัวของตัวเองและเขาไม่ได้ต้องการพึ่งพาคุณตลอดเวลา รวมทั้งมีความสุขได้ในยามที่ต้องเล่นอยู่คนเดียว
อย่างไรก็ดี เมื่อปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียว คุณเองก็ต้องเตรียมทำใจกับความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนที่จะตามมาเอาไว้ด้วยเช่น กัน พยายามป้องกันความเลอะเทอะล่วงหน้าเท่าที่พอจะทำได้ เช่น ถ้าลูกเล่นน้ำให้หาผ้าขนหนูมาปูซับน้ำ ถ้าลูกวาดภาพระบายสีให้เอาผ้าพลาสติกมาปูทับพื้นเอาไว้ ถ้าลูกเล่นปั้นดินปั้นโคลนควรใส่ผ้ากันเปื้อนให้เขา ลูกอาจเล่นจนเลอะเทอะไปถึงข้อศอกหน้าตาและผมเผ้าเปรอะเปื้อน ซึ่งก็ให้คอยล้างออกให้เขาภายหลังและไม่ควรหงุดหงิดกับเรื่องเหล่านี้.
แหล่งที่มาของข้อมูล...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 169 ประจำเดือนสิงหาคม 2550